share

5 วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุติดเตียงอย่างถูกต้อง

Last updated: 12 Feb 2024
5550 Views
5 วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุติดเตียงอย่างถูกต้อง

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง คือ การดูแลผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ตามที่ต้องการ และต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานาน เนื่องจากสาเหตุหลายประการ โดยการดูแลจะเป็นการให้ความช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น อาบน้ำ สระผม ป้อนอาหาร การป้องกันอันตรายจากสาเหตุต่างๆ รวมไปถึงการช่วยเหลือด้านอารมณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดความเครียด ความกังวล ส่งผลให้สุขภาพร่างกาย และสภาพจิตใจโดยรวมของผู้ป่วยเป็นไปในทิศทางที่ดี มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น

 

5 วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุติดเตียงอย่างถูกต้อง

1.หมั่นพลิกตัวและเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วย
การพลิกตัว และเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วย จะช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับ และเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ ผู้ป่วยจึงควรได้รับการเปลี่ยนท่านอนทุกๆ 2-3 ชั่วโมง แต่การพลิกตัว หรือเปลี่ยนท่าให้กับผู้ป่วย จะต้องทำด้วยความระมัดระวัง และใช้เทคนิคที่ถูกต้องเท่านั้น

2.ปรับให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งขณะทานอาหาร
การปรับให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งขณะทานอาหาร สามารถทำได้ด้วยการปรับเตียง ประมาณ 45 องศา โดยให้ผู้ป่วยชิดไปกับผนังพิง เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยมีความมั่นคงในขณะทานอาหาร และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารอย่างสะดวก โดยไม่เกิดการสำลัก หรือเกิดอันตรายต่างๆ


3.ให้ผู้ป่วยนอนในห้องที่สะอาด และมีอากาศถ่ายเท
การจัดให้ผู้ป่วยพักในห้องพักที่มีความสะอาด และมีอากาศถ่ายเทเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยพักฟื้นและรักษาตัวได้ดีขึ้น หายเร็วยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และสร้างความสะดวกสบายให้กับการรักษาได้อีกด้วย

4.คอยตรวจเช็คสุขภาพจิตของผู้ป่วยอยู่เสมอ
การตรวจเช็คสุขภาพจิตของผู้ป่วยเป็นประจำ จะทำให้ผู้ดูแล และแพทย์ได้รู้ว่าสภาพจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วก็จะได้วินิจฉัยโรคทางสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้การตรวจเช็คสุขภาพจิตยังช่วยให้สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

5.ดูแลความสะอาดของร่างกาย ช่องปากและเส้นผมอย่างสม่ำเสมอ
ควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าให้กับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ผ้าเช็ดตัว และผ้านุ่มเพื่อไม่ทำลายผิวหนัง และควรทำความสะอาดช่องปากของผู้ป่วย โดยน้ำยาบ้วนปากแล้วแปรงสีฟัน โดยควรทำอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันได้ ให้ใช้ผ้านิ่มชุบน้ำยาบ้วนปากเช็ดฟันแทน รวมถึงการสระผมควรทำอย่างนน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งด้วย MED COVER SHAMPOO CAP ที่ใช้งานง่ายแค่ฉีกซองแล้วคลุมที่ศีรษะ ขยี้ เป่าให้แห้ง 

 

 

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้สุขภาพผู้ป่วยดีแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงมีภาวะทางอารมณ์ที่ดี ทำให้ไม่มีภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล ส่งผลให้ผู้ป่วยมีทัศนคติเชิงบวก และมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น

 

MED COVER SHAMPOO CAOP หาซื้อได้ทางออนนไลน์
และ TOP CARE ทุกสาขา

#หมวกสระผม #หมวกสระผมไม่ใช้น้ำ #หมวกสระผมผู้ป่วย #หมวกสระผมผู้ป่วยติดเตียง #หมวกสระผมหลังศัลยกรรม #สระผมแห้ง #สระผมคนป่วย #สระผมคนป่วยติดเตียง #แชมพู #ไม่ใช้แชมพู #สระผม #ผู้ป่วย #เดินป่า #ศัลยกรรม #ดรายแชมพู #shampoocap #cap #medcover#dryshampoo

บทความที่เกี่ยวข้อง
5 เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วย
พร้อมการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกวิธี
ผลกระทบต่อเส้นผมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
เพื่อการดูแลและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง:
พร้อมวิธีรักษาความสะอาดและเสริมความมั่นใจ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy